“เพราะความชราไม่อาจพรากการเดินทางดีๆไปจากชีวิตได้”

menu_contact_us_leftjet

เมื่อผู้สูงอายุต้องเดินทางโดยเครื่องบิน

บ่อยครั้งที่มีผู้สูงอายุมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพอย่างรุนแรง ขณะเดินทาง ทำให้กัปตันต้องตัดสินใจลงจอดสนามบินที่ใกล้ที่สุด (ที่อาจอยู่นอกเหนือจากแผนการเดินทางของผู้โดยสารบนเครื่องหลายๆท่าน) การเตรียมตัวผู้สูงอายุให้พร้อมก่อนเดินทางจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างมาก

เตรียมพร้อมก่อนออกบิน

  • ตรวจร่างกายก่อนเดินทาง หากต้องมีการฉีดวัคซีน เช่นวัคซีนป้องกันโรคหวัด ควรฉีดและควรดูแลตัวเองตามที่แพทย์แนะนำ
  • เตรียมตัว เตรียสัมภาระ ยาและเวชภัฑฑ์ให้พร้อม และนำติดตัวไปด้วย
  • ตรวจเช็คทุกอย่างให้รอบครอบทั้งเอกสาร ควรเช็คอินทางอินเตอร์เน็ตให้เรียบร้อยและเผื่อเวลามาที่สนามบินในวันเดินทางเพื่อเดินเรื่องเอกสารต่างๆ
  • แม้ว่าการเดินทางทางเครื่องบินจะได้ชื่อวาปลอดภัยและรวดเร็วมากที่สุด แต่ควรทำประกันการเดินทางไว้ด้วยเสมอ
  • หากผู้สูงอายุมีความวิตกกังวลหรือมีอาการเมาเครื่องบิน ควรปรึกษาเเพทย์ก่อนการเดินทาง เพื่อจ่ายยา และให้คำแนะนำ
  • หากเลือกจองที่นั่งได้ ให้เลือกที่นั่งใกล้ทางเดิน และใกล้ห้องสุขา
  • เช็คยา และเวชภัณฑ์ รวมถึงของใช้จำเป็นอีกครั้งก่อนขึ้นเครื่อง

พร้อมเสมอแม้เครื่องขึ้น

  • นำยา เวชภัณฑ์ รวมถึงของจำเป็นต้องใช้ติดตัวไปด้วยเสมอ
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และน้ำอัดลม
  • ดื่มน้ำมากๆ
  • หากเดินทางเป็นเวลานานหลายชั่วโมง ไม่ควรนั่งเป็นเวลานาน ควรลุกออกมาเดินบ้าง เพื่อป้องกันอาการ Economy Class (ติดตามกันใน entry หน้านะครับ)
  • รัดเข็มขัด และตั้งใจฟังแอร์ โฮสเตสแนะนำ และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
  • มีความสุขกับการเดินทาง ไม่กังวล

เมื่อถึงที่หมาย

สูดอากาศดานนอกเครื่องบิน และเดินออกมาพักสักพัก ก่อนเดินทางไปที่หมายต่อไป (โดยรถยนต์หรือยานพาหนะต่างๆ หรือแม้กระทั่งการต่อเครื่อง)

pp

ผู้สูงอายุที่เป็นโรคดังต่อไปนี้…ห้ามเดินทางโดยเครื่องบิน

ทุกที่ย่อมต้องมี “กฏ” การเดินทางโดยเครื่องบินเองก็เช่นกัน สมาคมการเดินทางโดยสารการบินนานาชาติ (IATA – International Airline Travel Association) ได้กำหนดให้มีใบรับรองแพทย์สำหรับผู้โดยสาร เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถเดินทางโดยเครื่องบินได้โดยไม่เกิดปัญหา และมีโรคที่เป็น “ข้อห้าม” หากต้องเดินทางไกลด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะผู้สูงอายุ

โรคเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือด

  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจเฉียบพลันที่เพิ่งเป็นในระยะ 3 เดือนหรือยังควบคุมโรคไม่ได้
  • มีอาการเจ็บหน้าอกบ่อยๆ เป็นๆ หายๆ และเพิ่งเป็นใหม่ๆ
  • หัวใจล้มเหลว คุมอาการได้ไม่ดี
  • หัวใจเต้นผิดปกติ และคุมอาการไม่ได้
  • โรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้

โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ

  • ภาวะมีลมในเยื่อหุ้มปอดหรือภาวะโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศที่ยังไม่หายเป็นปกติ
  • โรคถุงลมโป่งพอง ร่วมกับมีถุงอากาศในปอด
  • โรคระบบหัวใจล้มเหลว

โรคเกี่ยวกับระบบประสาทและจิตใจ

  • โรคหลอดเลือดสมอง ทั้งชนิดขาดเลือดและชนิดเลือดออก หรือเส้นเลือดในสมองอุดตัน โดยเฉพาะหากเพิ่งเกิดในระยะเวลา 4 สัปดาห์
  • โรคลมชักควบคุมยังไม่ดี
  • ผู้ป่วยทางจิตที่ยังมีอาการเพ้อหรือวิกลจริต

โรคอื่นๆ

  • โลหิตจางและมีภาวะซีดอย่างรุนแรง
  • เลือดออกในทางเดินอาหาร
  • ห้ามขึ้นเครื่องหาก เพิ่งผ่าตัด ตา ช่องท้อง หรือ สมอง โดยเฉพาะเพิ่งผ่านช่วง 2 สัปดาห์แรก
  • มีอาการเกี่วกับโพรงไซนัส รวมถึง หูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน

การแจ้งเจ้าหน้าที่สายการบิน

  • แจ้งเจ้าหน้าที่ล่วงหน้าว่ามีผู้สูงอายุโดยสารด้วย เพื่อให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ที่เกี่ยวข้องเตรียมอุปกรณ์เช่น หน้ากากออกซิเจน หรือรถเข็น เมื่อจำเป้นต้องใช้
  • หากเกิดความผิดปกติระหว่างการเดินทาง ให้รีบเเจ้งเจ้าหน้าที่บนเครื่องบินทันที เพื่อประกาศหาแพทย์อาจที่โดยสารมาด้วย

One thought on “ผู้สูงอายุกับการเดินทางโดยเครื่องบิน (ตอนที่ ๒)

Leave a comment