Brakes

เบรก (brakes) เบรกของเครื่องบินจะมีส่วนประกอบเช่นเดียวกับ เบรกของรถยนต์ แต่เมื่อใช้งานแล้วรู้สึกว่าใช้งานยากกว่า เนื่องจาก การบังคับของเบรกทั้งสองข้างจะแยกออกจากกัน (differential braking) โดยเบรกจะติดตั้งอยู่ที่ล้อหลักทั้งสองข้างของเครื่องบิน เมื่อเราเหยียบเบรกด้านซ้ายเบรกก็จะทำงานเฉพาะด้านซ้ายเท่านั้น
ที่เป็นเช่นนี้เพื่อใช้ในการช่วยเลี้ยวในพื้นที่จำกัดบนพื้น ดังนี้ถ้าเราต้องการลดความเร็วจะต้องเหยียบเบรกทั้งสองข้างในน้ำหนักที่เท่ากัน จึงจะทำให้เครื่องบินลดความเร็วลงในลักษณะที่เครื่องยังอยู่ในสภาพตรงในทิศทาง หรืออยู่บน ทางวิ่ง ไม่เลี้ยวไปในทิศทางใดทางหนึ่ง

ระบบเบรกที่ใช้ไฮดรอลิคมีสามแบบ

1 ) Independent Brake System เป็นระบบเบรกที่ไม่ใช้ความดันจากระบบไฮดรอลิคของอากาศยาน จะมีระบบไฮดรอลิคเฉพาะของตัวเอง โดยใช้ Master Brake Cylinder ทำให้ไฮดรอลิค เกิดความดันไปใช้ในการเบรก

2) Integral Brake System ใช้ความดันจากระบบไฮดรอลิคของอากาศยาน โดยมี Power Brake Control Valve  หรือ Power Boost Brake Control Valve  เป็นตัวเปิดความดันไฮดรอลิค จากระบบเข้าไปที่ชุดเบรก

3) รวมทั้ง Independent Brake System และ Integral Brake System เข้าด้วยกัน

 

_IT_0658

อ่านเรื่อง Landing Gear ได้ ที่นี่ ครับ

Landing Gear

แลนดิ่ง เกียร์ (landing gear) ทำหน้าที่ช่วยรับแรงกระแทกในขณะร่อนลง และช่วยรองรับเครื่องบินในขณะที่อยู่บนพื้นดิน และจะประกอบไปด้วยล้อสามล้อด้วยกัน โดยมี

  • สองล้อหลัก (main wheels) จะติดตั้งด้านข้างของลำตัวเครื่องบินด้านละล้อ
  • อีกล้อหนึ่งจะมีการติดตั้ง อยู่สองตำแหน่ง คือ ถ้าติดตั้งอยู่ด้านท้ายของเครื่องบินจะเรียกว่า ล้อหาง เครื่องบินที่ติดตั้งล้อตำแหน่งนี้เรียกว่า คอนเวชั่นแนล แลนดิ่ง เกียร์ (conventional landing gear) โดยส่วนมากแล้วเครื่องที่ติดตั้งล้อที่ตำแหน่งนี้จะเป็นเครื่องบินรุ่นเก่า แต่ในปัจจุบันนี้การติดตั้งล้อที่ตำแหน่งนี้ไม่นิยมทำกัน เพราะการบังคับเครื่องบินในขณะอยู่ที่พิ้น จะทำได้ยาก ดังนั้น ในปัจจุบันได้นำเอาล้อที่สามนี้มาติดตั้งที่ด้านหน้าของเครื่องบินซะ เรียกล้อชนิดนี้ว่า โนสวิล (nose wheel) ขณะอยู่ที่พื้น การบังคับที่ รัดเดอร์ จะมากระทำที่ล้อหัวนี้ในการเลี้ยวไปยังทิศทางที่ต้องการ

เราสามารถแบ่งชนิดของ แลนดิ่ง เกียร์ (landing gear) แบบสามล้อนี้ได้เป็นสองประเภทคือ
1. ล้อแบบติดตั้งตายตัว (fixed gear)

2. ล้อที่พับเก็บได้ (retractable gear)

ระบบการทำงานของฐาน หมายถึงวิธีกางฐานพับฐาน มีสามวิธีด้วยกันคือ

1) ใช้ระบบไฟฟ้า (electrical operated)

2) ใช้ระบบไฮดรอลิค (hydraulic operated)

3) ใช้ใช้ระบบไฟฟ้า (electrical operated) และระบบไฮดรอลิค (hydraulic operated) ทำงานร่วมกัน อากาศยานโดยทั่วไปในปัจจุบันนิยมใช้วิธีนี้

Read more

ถ้าเป็นนักเรียนการบินของโรงเรียนการบินที่กองทัพอากาศแล้วละก็
ถ้าไม่มีแววจริงๆ ก็กลับบ้านไปได้เลย
ไม่ต้องเป็นนักบินแล้ว เพราะเขามีกำหนดเวลาที่จำกัด

 

นักบินที่ดีนั้นต้องผ่านการฝึกทักษะมามากมาย นี่เป็นประสบการณ์ของนักบินท่านหนึ่งใน Advance Aviation ที่ได้ถ่ายทอดเรื่องราวสมัยเป็นยังเป็นนักเรียนการบิน

_IT_0658.jpg

การสอบบินเดี่ยวจะเกิดขึ้นหลังจากบินกับครู ที่โรงเรียนการบินมาเนิ่นนานสักพัก นักบินท่านนี้เล่าว่าในการสอบทำได้แต่เฝ้ามองเพื่อนๆถูกปล่อยบินเดี่ยวที่ละคนสองคน นักบินท่านนี้ยังเล่าอีกว่า คนที่มีฝีมือจะถูกปล่อยก่อน คนหลังๆก็จะเริ่มหนาวๆร้อนๆ เริ่มขาดความมั่นใจ และกลัวว่าตัวเองจะเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่สอบไม่ผ่าน

ถึงจะมีคำล่ำลือว่าน่ากลัวขนาดไหน แต่ในทางปฏิบัติจริงๆ ครูก็จะช่วยกันเข็นจนกว่าจะผ่าน แต่ถ้าเป็นนักเรียนการบินของโรงเรียนการบินของกองทัพอากาศแล้วละก็ ถ้าไม่มีแววจริงๆ ก็กลับบ้านไปได้เลย ไม่ต้องเป็นนักบินแล้ว เพราะเขามีกำหนดเวลาที่จำกัด สำหรับผู้ที่เกิดมาเพื่อนเป็นนักบินเท่านั้น นักบินท่านนี้เล่าว่ารู้สึกขอบคุณทุกสิ่งบนโลกนี้ทำให้เขารู้สึกสงบและผ่านการทดสอบนั้นมาได้

20150718102748
CR picture: crewsociety.com

ช่วงสอบบินจริง มีเวลาเพียง 20 นาที นักบินทุกคนจะต้องรวบรวมสติและสมาธิทั้งหมดท่องสิ่งที่จำซ้ำไปซ้ำมาเพื่อให้ครั้งนี้เป็นการบินที่ยอดเยี่ยมที่สุด ทุกอย่างจะต้องเป็นขั้นเป็นตอนไปหมด นักบินท่านนี้เล่าว่าช่วงที่อันตรายและตื่นเต้นมากที่สุดคือการบินลงเพื่อลงจอด เพราะต้องนำเครื่องจากท้องฟ้ากว้างๆให้ลงมาในรันเวย์ ความเร็วต้องดี ลมก็มีผล ต้องรู้จักการคำนวณลม

เมื่อใดก็ตามที่เครื่องลงจอดพื้นอย่างปลอดภัยแล้ว นักบินในการสอบนี้ทุกคนก็รู้สึกตัวเบาและผ่านช่วงเวลาที่ตื่นเต้นที่สุดมาได้  นักบินท่านนี้เล่าว่าสิ่งที่น่าปลื้มใจที่สุดคือการได้รับประกาศนียบัตรที่ยืนยันว่าได้ผ่านหลักสูตรอันแสนทรหดมาแล้วก้าวเข้าสู่การเป็นนักบินอาชีพอย่างเต็มตัว

นักบินท่านนี้ยังบอกอีกว่า ถึงตอนนี้จะได้บินนักบินอาชีพแล้ว แต่สำหรับผู้โดยสารที่ฝากชีวิตไว้กับเราทุกคน การบินก็เหมือนการเรียนรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพให้ตัวเองเรื่อยๆ

0000000.jpg

 

ผู้สูงอายุกับการเดินทางโดยเครื่องบิน (ตอนที่ ๒)

“เพราะความชราไม่อาจพรากการเดินทางดีๆไปจากชีวิตได้”

menu_contact_us_leftjet

เมื่อผู้สูงอายุต้องเดินทางโดยเครื่องบิน

บ่อยครั้งที่มีผู้สูงอายุมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพอย่างรุนแรง ขณะเดินทาง ทำให้กัปตันต้องตัดสินใจลงจอดสนามบินที่ใกล้ที่สุด (ที่อาจอยู่นอกเหนือจากแผนการเดินทางของผู้โดยสารบนเครื่องหลายๆท่าน) การเตรียมตัวผู้สูงอายุให้พร้อมก่อนเดินทางจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างมาก

เตรียมพร้อมก่อนออกบิน

  • ตรวจร่างกายก่อนเดินทาง หากต้องมีการฉีดวัคซีน เช่นวัคซีนป้องกันโรคหวัด ควรฉีดและควรดูแลตัวเองตามที่แพทย์แนะนำ
  • เตรียมตัว เตรียสัมภาระ ยาและเวชภัฑฑ์ให้พร้อม และนำติดตัวไปด้วย
  • ตรวจเช็คทุกอย่างให้รอบครอบทั้งเอกสาร ควรเช็คอินทางอินเตอร์เน็ตให้เรียบร้อยและเผื่อเวลามาที่สนามบินในวันเดินทางเพื่อเดินเรื่องเอกสารต่างๆ
  • แม้ว่าการเดินทางทางเครื่องบินจะได้ชื่อวาปลอดภัยและรวดเร็วมากที่สุด แต่ควรทำประกันการเดินทางไว้ด้วยเสมอ
  • หากผู้สูงอายุมีความวิตกกังวลหรือมีอาการเมาเครื่องบิน ควรปรึกษาเเพทย์ก่อนการเดินทาง เพื่อจ่ายยา และให้คำแนะนำ
  • หากเลือกจองที่นั่งได้ ให้เลือกที่นั่งใกล้ทางเดิน และใกล้ห้องสุขา
  • เช็คยา และเวชภัณฑ์ รวมถึงของใช้จำเป็นอีกครั้งก่อนขึ้นเครื่อง

พร้อมเสมอแม้เครื่องขึ้น

  • นำยา เวชภัณฑ์ รวมถึงของจำเป็นต้องใช้ติดตัวไปด้วยเสมอ
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และน้ำอัดลม
  • ดื่มน้ำมากๆ
  • หากเดินทางเป็นเวลานานหลายชั่วโมง ไม่ควรนั่งเป็นเวลานาน ควรลุกออกมาเดินบ้าง เพื่อป้องกันอาการ Economy Class (ติดตามกันใน entry หน้านะครับ)
  • รัดเข็มขัด และตั้งใจฟังแอร์ โฮสเตสแนะนำ และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
  • มีความสุขกับการเดินทาง ไม่กังวล

เมื่อถึงที่หมาย

สูดอากาศดานนอกเครื่องบิน และเดินออกมาพักสักพัก ก่อนเดินทางไปที่หมายต่อไป (โดยรถยนต์หรือยานพาหนะต่างๆ หรือแม้กระทั่งการต่อเครื่อง)

pp

ผู้สูงอายุที่เป็นโรคดังต่อไปนี้…ห้ามเดินทางโดยเครื่องบิน

ทุกที่ย่อมต้องมี “กฏ” การเดินทางโดยเครื่องบินเองก็เช่นกัน สมาคมการเดินทางโดยสารการบินนานาชาติ (IATA – International Airline Travel Association) ได้กำหนดให้มีใบรับรองแพทย์สำหรับผู้โดยสาร เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถเดินทางโดยเครื่องบินได้โดยไม่เกิดปัญหา และมีโรคที่เป็น “ข้อห้าม” หากต้องเดินทางไกลด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะผู้สูงอายุ

โรคเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือด

  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจเฉียบพลันที่เพิ่งเป็นในระยะ 3 เดือนหรือยังควบคุมโรคไม่ได้
  • มีอาการเจ็บหน้าอกบ่อยๆ เป็นๆ หายๆ และเพิ่งเป็นใหม่ๆ
  • หัวใจล้มเหลว คุมอาการได้ไม่ดี
  • หัวใจเต้นผิดปกติ และคุมอาการไม่ได้
  • โรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้

โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ

  • ภาวะมีลมในเยื่อหุ้มปอดหรือภาวะโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศที่ยังไม่หายเป็นปกติ
  • โรคถุงลมโป่งพอง ร่วมกับมีถุงอากาศในปอด
  • โรคระบบหัวใจล้มเหลว

โรคเกี่ยวกับระบบประสาทและจิตใจ

  • โรคหลอดเลือดสมอง ทั้งชนิดขาดเลือดและชนิดเลือดออก หรือเส้นเลือดในสมองอุดตัน โดยเฉพาะหากเพิ่งเกิดในระยะเวลา 4 สัปดาห์
  • โรคลมชักควบคุมยังไม่ดี
  • ผู้ป่วยทางจิตที่ยังมีอาการเพ้อหรือวิกลจริต

โรคอื่นๆ

  • โลหิตจางและมีภาวะซีดอย่างรุนแรง
  • เลือดออกในทางเดินอาหาร
  • ห้ามขึ้นเครื่องหาก เพิ่งผ่าตัด ตา ช่องท้อง หรือ สมอง โดยเฉพาะเพิ่งผ่านช่วง 2 สัปดาห์แรก
  • มีอาการเกี่วกับโพรงไซนัส รวมถึง หูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน

การแจ้งเจ้าหน้าที่สายการบิน

  • แจ้งเจ้าหน้าที่ล่วงหน้าว่ามีผู้สูงอายุโดยสารด้วย เพื่อให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ที่เกี่ยวข้องเตรียมอุปกรณ์เช่น หน้ากากออกซิเจน หรือรถเข็น เมื่อจำเป้นต้องใช้
  • หากเกิดความผิดปกติระหว่างการเดินทาง ให้รีบเเจ้งเจ้าหน้าที่บนเครื่องบินทันที เพื่อประกาศหาแพทย์อาจที่โดยสารมาด้วย

ผู้สูงอายุกับการเดินทางโดยเครื่องบิน (ตอนที่ ๑)

แม้ว่าสิ่งแวดล้อมภายในห้องโดยสารบนเครื่องบิน
จะมีผลต่อผู้โดยสาร โดยเฉพาะผู้สูงอายุ
แต่การเดินทางโดยเครื่องบินก็ถือว่าเป็น
การเดินทางที่ปลอดภัยและประหยัดเวลาที่สุด

ในปัจจุบัน จำนวนของผู้สูงอายุมีเพิ่มมากขึ้น นอกจากตั๋วเครื่องบินในปัจจุบันราคาถูกลงมากแล้ว การเดินทางโดยเครื่องบินก็ถือว่าเป็นการเดินทางที่ปลอดภัยที่สุดและรวดเร็วที่สุดด้วยเช่นกัน จึงทำให้จำนวนผู้ที่เดินทางโดยเครื่องบินเพิ่มมากยิ่งขึ้น รวมถึงกลุ่มผู้สูงอายุ

ผ
http://pantip.com/topic/33545484

เครื่องบินในสมัยปัจจุบัน วิศวกรสร้างภายในห้องโดยสารเครื่องบินให้มีความทนทานเสมือนอยู่ในบรรยากาศความสูง 6,000-8,000 ฟุต (แม้ว่าความสูงจริงจะสูงถึง 28,000-45,000 ฟุตก็ตาม) เมื่อความกดอากาศลดลงออกซิเจนในร่างกายจึงลดลงด้วย เสี่ยงต่อสุขภาพของผู้โดยสารที่มี ภาวะโลหิตจาง โรคหัวใจ และโรคระบบทางเดินหายใจ

เนื่องจากห้องโดยสารมีความกดอากาศลดลง ก๊าซที่อยู่ตามโพรงอากาศต่างๆของร่างกายขยายตัวขึ้น ทำให้เกิดอาการ ปวดหู หูอื้อ ปวดโพรงไซนัส ปวดฟัน คลื่นไส้ อาเจียน แน่นหน้าอก และหายใจลำบาก
นอกจากนี้ ความชื้นภายในห้องโดยสารเองก็ลดลงด้วยเช่นกัน ทำให้เยื่อผิวตามส่วนต่างๆของร่างกายแห้ง เช่น ในลำคอ กระจกตา และทำให้เกิดภาวะขาดน้ำได้

e0b89c.jpg

ผู้สูงอายุต้องเตรียมตัวอย่างไร

ผู้สูงอายุต้องมีการวางแผนการเดินทาง และเตรียมตัวเดินทางอย่างรอบคอบ เช็คยาและของใช้จำเป็น เตรียมตั้งแต่เริ่มออกจากที่พัก เพื่อเผื่อเวลาเตรียมเรื่องเอกสารและอื่นๆ ให้เรียบร้อย จนถึงสถานที่จะขึ้นเครื่องบิน เช็คยาและของใช้ที่จำเป็นมีพร้อมอยู่ในกระเป๋าเดินทางติดตัว

โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคหืด โรคเบาหวาน
และ โรคความดันโลหิตสูง

 

เรื่องของผู้สูงอายุกับการเดินทางโดยเครื่องบินยังไม่จบนะครับ พบกันใหม่ entry หน้ากับการเตรียมตัวเมื่อต้องเดินทางโดยเครื่องบินครับ อย่าลืมติดตามหรือกด subscribe กันเยอะๆนะครับ

ขอให้มีความสุขกับวันศุกร์สุดสัปดาห์นะครับ

 

 

 

นั่งเครื่องส่วนตัว…ต้อง GULFSTREAM G 200

จะนั่งเครื่องบินส่วนตัวสักที…
ทำไมต้องเครื่อง GULFSTREAM G 200

123.jpg

 “เครื่องบินเจ็ท ส่วนตัว Gulfstream G200” 

Advance Aviation Jet ได้นำเข้ามาให้บริการเช่าเหมาลำเครื่องแรกของประเทศไทยในราคากว่า 300 ล้าน

Gulfstream G200 เป็นเครื่องบินขนาดกลาง
ที่ออกแบบมาเพื่อสนองตอบทุกความต้องการของท่านไม่ว่าจะเป็นความสะดวกสบายสมรรถนะ หรือความปลอดภัย นอกจากนี้ยังมีระยะทางบินที่ยาว สามารถนำท่านเดินทางเส้นทางกรุงเทพฯถึงดูไบ ได้โดยไม่ต้องหยุดพักเลยมีเดียว ในห้องโดยสารที่กว้างที่สุดเมื่อ
เทียบกับเครื่องบินในระดับเดียวกัน พร้อมความเร็วใน
การบินเท่ากับ 459 น็อต เครื่อง G200 ได้รับการออกแบบ
อย่างสวยงามประกอบไปด้วยพื้นที่นั่งเล่น ระบบให้ความบันเทิง วิทยุ โทรศัพท์ และปลั๊กไฟ มีห้องโดยสารขนาดกว้าง 2 เมตร 18 ซม. สูง 1 เมตร 91 ซม. มีที่นั่งผู้โดยสารแบบวีไอพี 10 ที่นั่ง และมีระบบทำอากาศให้บริสุทธิ์ 100% เพื่อลดความเหนื่อยล้าของผู้โดยสาร มีพิสัยการบินไกลกว่า 7 ชั่วโมงบินเหมาะสำหรับการเดินทางประชุมธุรกิจหรือการเดินทางพักผ่อนกับ
ครอบครัว

123

ข้อมูลจำเพาะของเครื่องบิน:

จำนวนผู้โดยสารที่นั่ง                                          10
จำนวนลูกเรือ                                                       2 นักบิน 1 พนักงานต้อนรับ
ความยาวของห้องโดยสาร                                   24.4 ฟุต
ความกว้างของห้องโดยสาร                                 7.2 ฟุต
ความสูงของห้องโดยสาร:                                    6.3 ฟุต
ความจุสัมภาระ                                                     2,400 ปอนด์
ความเร็วในการบิน                                                459 น็อต
ระยะทางบินสูงสุด                                                 3,400 นอติคัลไมล์

เพดานบิน                                                              45,000 ฟุต
ระยะเวลาบินสูงสุด                                                 7 ชั่วโมง

176554-pic-8

 

ปลอดภัยแค่ไหน? เมื่อเดินทางโดยเครื่องบิน (ตอนที่ 2)

บินวันนี้ ปลอดภัยกว่าวันวาน

Plane-Road-Sky

หลายๆครั้งที่เมื่อเปิดเข้าไปในกระทู้ไหนๆ มักจะเจอกับคำถามที่ว่
“เครื่องบินปลอดภัยไหมเนี่ย!!”
ตัวอย่างเช่นกระทู้นี้


000dfdsfeol
http://www.hflight.net/forums/topic/3482-ทุกวันนี้เครื่องบิน-ปลอดภัยส

เคยดูสารคดี การเกิดอุบัติเหตุของอากาศยาน เช่น เครื่อง โบอิ้ง737 บินอยู่ดีๆ ก็ ควงอากาศตกลงเฉยโดยที่ไม่ได้เกี่ยวสภาพอากศ หรือเกิดการจี้เครื่องบินแต่อย่างใด และเรื่องของไฟไหม้ในห้องเก็บสินค้า ก็ทำให้เครื่องตกมาแล้ว จึงอยากทราบ ทุกวันนี้ เครื่องบินที่เรานั่งอยู่ ปลอดภัยจริงหรือ (ความปลอดภัยที่ไม่เกี่ยวกับสภาพดินฟ้าอากาศแต่เป็น การผิดพลาดของการออกแบบและการทำงานของเครื่องยนต์)


แม้ว่าจากสถิติ การเดินทางด้วยเครื่องบินเป็นพาหนะที่ปลอดภัยที่สุดเมื่อเทียบกับการเดินทางด้วยพาหนะอื่นๆ ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์ รถไฟ หรือจักรยาน หรือแม้กระทั่งเรือเองก็ตาม เพราะโอกาสที่เครื่องบินพาณิชย์ตกนั้นมีเพียง 1 ใน 11 ล้านเที่ยวบินหรือ 1 ในพันล้านชั่วโมงบินของเครื่องบินลำนั้นๆ เท่านั้นแม้การเดินทางด้วยเครื่องบินจะมีความปลอดภัยสูง มากๆ แต่กลับเป็นการเดินทางที่คนส่วนใหญ่กลัวมากที่สุด

จาก การทำโพลสำรวจของ Macquarie University ประเทศออสเตรเลีย พบว่า 40 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่ผู้เดินทางโดยเรื่องบิน มีความรู้สึกวิตกกังวลเวลาขึ้นเครื่องบินโดยเฉพาะเวลาที่เครื่องกำลังจะบินขึ้น

นับตั้งแต่ปี 2014 ที่ผ่านมา มีเหตุการณ์เครื่องบินพาณิชย์ที่สร้างโดยประเทศตะวันตกประสบอุบัติเหตุตกและมีผู้เสียชีวิตเพียง 6 ครั้ง แต่สายการบินที่ประสบอุบัติเหตุเครื่องบินตก 4 ครั้ง (จาก 6 ครั้ง : อ้างอิงจาก ThairatTV สรุปข่าวด้านล่างนะครับ) ทางสายการบินไม่ได้เป็นสมาชิกสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ หรือ ไออาตา (International Air Transport Association-IATA) ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยในการเดินทางทางอากาศ ซึ่งปัจจุบันมีสายการบิน 240 สายการบินจาก 115 ประเทศเป็นสมาชิก

นอกจากนี้คนส่วนใหญ่ยังเข้าใจว่า เวลาเครื่องบินตก ผู้โดยสารบนเครื่องทั้งหมดจะเสียชีวิต! แต่จากการเก็บสถิติของ National Transportation Safety Board ซึ่งเป็นหน่วยงานสอบสวนอากาศยานอุบัติเหตุ มีสำนักงานอยู่ที่สหรัฐอเมริกา พบว่า 10 ปีที่ผ่านมาเป็นช่วงที่ปลอดภัยที่สุดของการบินพลเรือน คือ โอกาสเสียชีวิต อยู่ที่ 2 ใน 100 ล้าน หรือ 2:100 ล้าน กล่าวคือ ผู้โดยสาร 100 ล้านคน จะมีโอกาสเสียชีวิต 2 คน

โอกาสตายลดลง 10 เท่า เมื่อเทียบกับ 10 ปีก่อนหน้านั้น

ช่วงแรกที่มีเครื่องบินเจ็ท = 1962-1971/2505-2514, โอกาสตาย = 133:100 ล้านคน ไม่นับรวมการก่อการร้าย (terrorism) นะครับ

เครื่องบินโดยสารส่วนใหญ่บินสูงถึง 10,000 ฟุต จากผิวโลก แต่มีการปรับอากาศอย่างดี ทำให้การเดินทางเป็นไปได้อย่างสะดวกสบายที่สุดยิ่งกว่ายุคใดๆ

เชื่อไหมครับว่า โอกาสตายจากการเดินทางด้วยรถไปสนามบินสูงกว่าการบินในประเทศ โดยมีคนตายจากอุบัติเหตุรถยนต์มากกว่า 30,000 ราย/ปี = 8 เท่าของการขึ้นเครื่องเชียวนะครับ!!!

ประเทศที่มีสถิติเครื่องบินตกสูงที่สุด คือ รัสเซีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และโซมาเลีย

แอฟริกาเป็นทวีปที่มีสถิติการบินน้อย = 3% ของโลก แต่กลับมีเครื่องบินตกมากที่สุด คือ  14% ของการบินในประเทศทั้งหมดเชียวล่ะครับ

สาเหตุที่ทำให้การบินพลเรือนปลอดภัยขึ้น

(1). มีการเรียนรู้ข้อผิดพลาด หาวิธีแก้ไข และนำไปสู่การปฏิบัติจริงอย่างเป็นระบบ เช่น มีการสอบสวนหาสาเหตุเครื่องตก ออกแบบเครื่องบิน เครื่องยนต์ และมาตรการป้องกันอันตรายใหม่ทุกครั้ง ฯลฯ

(2). มีระบบการแลกเปลี่ยนฐานข้อมูลการบิน เช่น ถ้ามีหมอกทำให้ทัศนวิสัยตกลง ผู้ควบคุมการบินจะต้องแจ้งเตือนนักบิน ให้เวลาเตรียมลงนานขึ้น เปิดไฟสนามบินให้สว่างขึ้น ฯลฯ

(3). มีระบบการตรวจสอบจากภายนอก โดยทีมงานมืออาชีพอย่างเป็นระบบจะทำการตรวจสอบการบำรุงรักษา มาตรการรักษาความปลอดภัยของสายการบินเป็นระยะๆ ให้ค่าคะแนน ซึ่งถ้าสายการบินใดได้คะแนนดีจะเสียค่าประกันภัยน้อยลง

(4). บุคลากรที่มีคุณภาพ และมีประสบการณ์สูง เช่น ผู้ควบคุมการบิน นักบิน วิศวกร-ช่างบำรุงรักษา ฯลฯ ทำให้การบินปลอดภัยขึ้น เช่น กรณีนำเครื่องบินที่เครื่องยนต์ดับทั้ง 2 เครื่องลงในแม่น้ำฮัดสัน ปี 2009/2552

เห็นไหมล่ะครับว่ามาตรฐานการบินในปัจจุบัน พัฒนามากขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก โดยเฉพาะเครื่องบินเจ็ท Gulfstream G200 ของเรา (แอบกระซิบหน่อยว่า หนุ่มเเข้งทอง Ronaldo เองก็ซื้อเครื่องรุ่นนี้เช่นกัน แถมยังผลิตเพียง 250 ลำ ทั่วโลก!!! คราวหน้าผมจะเอาเรื่องราวเกี่ยวกับ Gulsftream G200 และรูปภาพสุด Exclusive จาก Advance Aviation มาฝากกันครับ)

สรุปข่าวย้อนรอยเครื่องบินตก ปี 2557– 8 มีนาคม 2557 เครื่องบินโดยสารโบอิ้ง 777-200 อีอาร์ เที่ยวบิน MH370 ของสายการบินมาเลเซีย แอร์ไลน์ส ออกเดินทางจากสนามบินในกรุงกัวลาลัมเปอร์ พร้อมด้วยผู้โดยสารและลูกเรือ 239 คน สูญหายไปจากจอเรดาห์อย่างไร้ร่องรอย ระหว่างบินอยู่เหนือทะเลจีนใต้ ท่ามกลางข้อสันนิษฐานว่าเครื่องบินลำนี้เปลี่ยนทิศทางการบินและประสบเหตุตกลงในมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งนับจนถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีรายงานการพบเครื่องบินลำนี้แต่อย่างใด

– 4 เดือนถัดมา สายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ ต้องประสบกับเหตุโศกนาฏกรรมทางอากาศอย่างร้ายแรงอีกครั้ง เมื่อ เครื่องบินโบอิ้ง 777 – 200 ER เที่ยวบินที่ MH17 ประสบเหตุตกในแคว้นโดเนตสก์ของยูเครนใกล้กับพรมแดนรัสซีย เมื่อวันที่ 17 กรกฏาคม หลังออกเดินทางจากกรุงอัมสเตอร์ดัมของเนเธอร์แลนด์ไปยังมาเลเซีย โดยมีข้อสัณนิษฐานว่าถูกยิงตกด้วยขีปนาวุธภาคพื้นสู่อากาศ บู๊คส่งผลทำให้ผู้โดยสาร 283 คนและลูกเรืออีก 15 คนบนเครื่องเสียชีวิตทั้งลำ

– ถัดมาอีกเพียง 6 วัน เครื่องบินโดยสารขนาดเล็กชนิด ATR 72-500 จากสายการบินทรานส์แอร์เวย์ เที่ยวบินGE 222 ซึ่งประสบเหตุตกลงใส่บ้านเรือนประชาชนหลังพยายามร่อนลงจอดฉุกเฉินบนเกาะเปงฮู ทางตะวันตกของไต้หวันเพราะสภาพอากาศย่ำแย่เนื่องจากอิทธิพลของพายุไต้ฝุ่นแมตโม เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 48 คนและบาดเจ็บอีก 15 คน

1 วันหลังเหตุเครื่องบินตกที่ไต้หวันก็ได้เกิดเหตุเครื่องบินแมคดอนเนล ดักลาส MD-83 เที่ยวบินAH 5017 ของสายการบินแอร์ แอลจีเรียพร้อมผู้โดยสาร 110 คนและลูกเรืออีก 6 คน ออกเดินทางจากกรุงวากาดูกู เมืองหลวงของประเทศบูร์กินาฟาโซ ไปยังกรุงแอลเจียร์ส ของแอลจีเรีย ได้สูญหายไปจากจอเรดาห์ภายหลังจากที่ออกเดินทางได้เพียง 50 นาที ก่อนที่จะประสบเหตุตกลงใกล้กับเมืองกอสซี ประเทศมาลี ผู้โดยสารและลูกเรือเสียชีวิตยกลำ

– 10 สิงหาคม เครื่องบินโดยสารขนาดเล็กของสายการบินเซปาฮานของอิหร่าน เที่ยวบิน SPN 5915 บรรทุกผู้โดยสาร 40 คนและลูกเรือ 8 คนประสบเหตุตกหลังทะยานขึ้นจากรันเวย์ของท่าอากาศนานาชาติเมห์ราบัดเพื่อมุ่งหน้าไปยังเมืองทาบัส โดยเครื่องบินลำนี้ตกห่างจากสนามบินเพียง 5 กิโลเมตร เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 39 คน

– และในขณะที่ใกล้จะหมดปี 2557 ก็ได้เกิดเหตุเครื่องบินโดยสารแอร์บัส เอ 320-200 ของสายการบินแอร์เอเชียที่ออกเดินทางจากเมืองสุราบายาของอินโดนีเซียไปยังสิงคโปร์ พร้อมด้วยผู้โดยสารและลูกเรือ 162 คน เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาได้ขาดการติดต่อและสูญหายไปจากจอเรดาห์หลังออกเดินทางไปได้เพียงครึ่งทาง ซึ่งนับจนถึงตอนนี้ก็ยังไม่ทราบชะตากรรมของคนบนเครื่องทั้งหมด

ข้อมูลจาก  : social.tnews.co.th, health2u.exteen.com, ThairathTV, Advanceaviation.co.th

 

ปลอดภัยแค่ไหน? เมื่อเดินทางโดยเครื่องบิน

เดินทางโดยเครื่องบินปลอดภัยที่สุดจริงหรือปล่าว?

อยู่สูงกว่าพื้นตั้งเยอะ กลัวจังเลย

เครื่องจะตกไหมเนี่ย

แล้วข่าวเครื่องบินตกที่แล้วๆมาล่ะ

จะนั่งรถก็กังวล จะนั่งเรือก็กลัว เครื่องบินเร็วก็จริง แต่ปลอดภัยไหมเนี่ย

plane-in-sky-900x497.jpg

ถ้าพูดถึงการนั่งเครื่องบินแล้ว.. บางคนอาจรู้สึกตื่นเต้น ดีใจ มีความสุขกับความรู้สึกที่ได้ลอยอยู่บนฟ้า แต่บางคนแล้ว มันไม่เป็นเช่นนั้นเลย ดั่งเช่น “ผู้เป็นโรคกลัวการบิน” ยากที่จะรู้สึกดีและมักกังวลยู่ตลอดเวลาว่าหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นกลางอากาศตอนที่อยู่สูงเหนือพื้นโลกกว่า 10,000 เมตร จะทำอย่างไร!!!

วันนี้ ผมจึงนำความจริง 5 ประการเกี่ยวกับการบินมาฝากกันครับ ^_^

  1. มาตรฐานความปลอดภัยในการผลิตเครื่องบิน

บริษัทผลิตเครื่องบินจะต้องมีคุณสมบัติตาข้อกำหนดมาตรฐานที่องค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศได้กำหนดไว้

นอกจากนี้ เครื่องบินในปัจจุบันยังถือว่ามีความทันสมัยและปลอดภัยอย่างมาก โอกาสเสี่ยงที่จะเป็นต้นเหตุให้เครื่องเกิดอุบัติเหตุทางการบินได้ 1 ใน พันล้านของชั่วโมงบินลำนั้นๆได้เลยทีเดียว!! หรือโดยเฉลี่ย 1 ใน 11 ล้านเที่ยวบินเท่านั้น!!

ที่สำคัญคือ หากเครื่องบินใดก็ตามไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศล่ะก็ เครื่องดังกล่าวก็จะไม่ได้รับการอนุมัติให้นำไปใช้งาน และการตรวจสอบขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศถือว่าเข้มข้นมากเลยทีเดียว!!!

  1. การเดินทางโดยเครื่องบินถือว่าปลอดภัยและรวดเร็วที่สุด

ถึงแม้ว่าข่าวอุบัติเหตุทางเครื่องบินจะเป็นข่าวที่เรียกความสนใจจากผู้คนมากกว่าข่าวอุบัติเหตุจากการเดินทางข่าวอื่นๆ แต่ข่าวที่เห็นบ่อยๆ มักจะเป็นข่าวอุบัติเหตุทางรถยนต์เสียมากกว่า เช่น ในรอบ 10 ปี (มกราคม 2539 – ธันวาคม 2548) มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางเครื่องบิน 5,612 ราย 376 เที่ยวบิน เฉลี่ยเป็นปีละประมาณ 560 ราย 38 เที่ยวบิน ในขณะที่่มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ถึง 5,000 รายต่อปี

จริงที่ว่าในแต่ละวัน มีผู้เดินทางโดยใช้รถยนต์มากกว่าเดินทางโดยเครื่องบิน แต่ก็เป็นเรื่องจริงอีกเช่นเดียวกันที่ว่ามีโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุระหว่างการขับรถมากกว่าการเดินทางโดยเครื่องบิน

  1. สื่อ ตัวกลางสนับสนุนให้เกิดโรคกลัวการบิน

เมื่อเกิดอุบัติเหตุทางอากาศ สื่อมวลชนมักจะนำเสนอข่าวเครื่องบินตกซ้ำไปซ้ำมา ทั้งสื่อโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ (มักจะลงพาดหัวข่าวในหน้าหนึ่งอยู่หลายวัน) ทำให้ผู้โดยสารที่กลัวเครื่องบินอยู่แล้ว เกิดอคติกับเครื่องบินมากยิ่งขึ้นไปอีก

  1. ความปลอดภัยของแต่ละสายการบินไม่เท่ากัน

แม้ว่าเครื่องบินของทุกสายการบินจะต้องผ่านมาตรฐานความปลอดภัยขององค์การบินพลเรือนระหว่างประเทศ แต่การควบคุมหรือดูแลอุปกรณ์ภายในเครื่องหลังจากเริ่มใช้งานนั้น เป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่ควบคุมการบินในประเทศนั้นๆ โดยประเทศที่เรื่องบินลงจอด มีสิทธิ์เพียงอนุญาตให้ลงจอดหรือไม่เท่านั้น แต่สิทธิ์การดูแลตกอยู่กับประเทศที่เป็นเจ้าของเครื่องบินลำนั้นๆ นอกจากนี้ ผู้ผลิตเครื่องบินของบริษัทนั้นๆ จะเข้ามาดูแลตรวจสอบอยู่เป็นประจำ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการบินให้สูงขึ้น

เครื่องบินทุกลำของ Advance Aviation Jet ก็เช่นกัน ทั้งเฮลิคอปเตอร์และเจ็ทต่างก็ได้รับการดูแล ตรวจเช็คสภาพอย่างดี ทั้งก่อนออกบิน และหลังจากบินเสร็จ ด้วยอุปกรณ์ที่ครบครัน และใหม่อยู่เสมอ บุคลากรที่มากประสบการณ์และผ่านการอบรมมาอย่างดีทั้งในและต่างประเทศ เครื่องบินเจ็ทและเฮลิคอปเตอร์ของเราจึงปลอดภัย มั่นใจได้ ดั่งสโลแกนของเรา  “where sky and safety meet!!!”

  1. มาตรฐานความปลอดภัยของสายการบินในแต่ละประเทศขึ้นอยู่กับนโยบองรัฐบาลในประเทศนั้นๆแต่ก็ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน จากองค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ

เห็นไหมล่ะครับว่า จริงๆแล้วการเดินทางโดยเครื่องบิน นอกจากจะประหยัดเวลาที่สุดแล้ว นังเป็นการเดินทางที่ปลอดภัยที่สุดด้วย  แม้ว่าไม่มียานพาหนะใดที่ปลอดภัย 100% แต่ความถี่ในการเกิดอุบัติเหตุทางเครื่องบินนั้น ถือว่าน้อยถึงน้อยที่สุด เมื่อเทียบกับความถี่ในการเดินทางแบบอื่นๆนั่นเองนะครับ Entry นี้ผมขอลาไปก่อน แล้วพบกันใหม่กับ Entry หน้านะครับ สวัสดีครับ

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.1001crash.comhttp://www.advanceaviation.co.th