ผู้สูงอายุกับการเดินทางโดยเครื่องบิน (ตอนที่ ๑)

แม้ว่าสิ่งแวดล้อมภายในห้องโดยสารบนเครื่องบิน
จะมีผลต่อผู้โดยสาร โดยเฉพาะผู้สูงอายุ
แต่การเดินทางโดยเครื่องบินก็ถือว่าเป็น
การเดินทางที่ปลอดภัยและประหยัดเวลาที่สุด

ในปัจจุบัน จำนวนของผู้สูงอายุมีเพิ่มมากขึ้น นอกจากตั๋วเครื่องบินในปัจจุบันราคาถูกลงมากแล้ว การเดินทางโดยเครื่องบินก็ถือว่าเป็นการเดินทางที่ปลอดภัยที่สุดและรวดเร็วที่สุดด้วยเช่นกัน จึงทำให้จำนวนผู้ที่เดินทางโดยเครื่องบินเพิ่มมากยิ่งขึ้น รวมถึงกลุ่มผู้สูงอายุ

ผ
http://pantip.com/topic/33545484

เครื่องบินในสมัยปัจจุบัน วิศวกรสร้างภายในห้องโดยสารเครื่องบินให้มีความทนทานเสมือนอยู่ในบรรยากาศความสูง 6,000-8,000 ฟุต (แม้ว่าความสูงจริงจะสูงถึง 28,000-45,000 ฟุตก็ตาม) เมื่อความกดอากาศลดลงออกซิเจนในร่างกายจึงลดลงด้วย เสี่ยงต่อสุขภาพของผู้โดยสารที่มี ภาวะโลหิตจาง โรคหัวใจ และโรคระบบทางเดินหายใจ

เนื่องจากห้องโดยสารมีความกดอากาศลดลง ก๊าซที่อยู่ตามโพรงอากาศต่างๆของร่างกายขยายตัวขึ้น ทำให้เกิดอาการ ปวดหู หูอื้อ ปวดโพรงไซนัส ปวดฟัน คลื่นไส้ อาเจียน แน่นหน้าอก และหายใจลำบาก
นอกจากนี้ ความชื้นภายในห้องโดยสารเองก็ลดลงด้วยเช่นกัน ทำให้เยื่อผิวตามส่วนต่างๆของร่างกายแห้ง เช่น ในลำคอ กระจกตา และทำให้เกิดภาวะขาดน้ำได้

e0b89c.jpg

ผู้สูงอายุต้องเตรียมตัวอย่างไร

ผู้สูงอายุต้องมีการวางแผนการเดินทาง และเตรียมตัวเดินทางอย่างรอบคอบ เช็คยาและของใช้จำเป็น เตรียมตั้งแต่เริ่มออกจากที่พัก เพื่อเผื่อเวลาเตรียมเรื่องเอกสารและอื่นๆ ให้เรียบร้อย จนถึงสถานที่จะขึ้นเครื่องบิน เช็คยาและของใช้ที่จำเป็นมีพร้อมอยู่ในกระเป๋าเดินทางติดตัว

โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคหืด โรคเบาหวาน
และ โรคความดันโลหิตสูง

 

เรื่องของผู้สูงอายุกับการเดินทางโดยเครื่องบินยังไม่จบนะครับ พบกันใหม่ entry หน้ากับการเตรียมตัวเมื่อต้องเดินทางโดยเครื่องบินครับ อย่าลืมติดตามหรือกด subscribe กันเยอะๆนะครับ

ขอให้มีความสุขกับวันศุกร์สุดสัปดาห์นะครับ

 

 

 

หลักของ Bernoulli :
Bernoulli กล่าวไว้ว่า ถ้าความเร็วของลม (หรือ ของไหล)เพิ่มขึ้น แรงกดอากาศจะลดลง
และตรงกันข้าม ถ้าความเร็วลดลง แรงกดอากาศจะเพิ่มขึ้น

10387578_793534897370949_3262152766610478111_n
Airfoil : เป็นคำอธิบายทางด้านเทคนิค หมายถึง ลักษณะรูปร่าง เช่น tail rotor blades ออกแบบมาเพื่อให้เกิด แรงปฏิกริยา จากอากาศที่มันเคลื่อนที่ผ่านไป
Angle of Attack : เป็นมุมแหลม ที่วัดระหว่าง chord ของ airfoil และ relative wind
Angle of Incidence : เป็นมุมแหลม ระหว่างเส้น chord line ของปีก และ แกน longitudinal axis ของตัวเครื่องบิน (โดยทั่วไป บริษัทผู้สร้างจะสร้างเครื่องที่มีปีก ที่มีมุมนี้อยู่ จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบ)

1375696_541352402600651_1727111625_n
Tail rotor (ใบพัดหาง) เป็นใบพัดขนาดเล็ก อาจจะมีสอง หรือ สี่ ใบก็ได้ ซึ่ง ติดตั้งอยู่ที่ ส่วนหางของเฮลิคอปเตอร์ จะหมุนในแนวตั้ง
tail rotor จะบังคับโดยคันเหยียบที่นักบิน (rudder pedals) มุมของใบพัดเล็กนี้ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ตามที่นักบินต้องการ เพื่อบังคับให้เฮลิคอปเตอร์หันหัวไปตามทิศทางที่นักบินต้องการ
Blade Root : ปลายด้านใน หรือโคนใบพัด ( blades) ซึ่งยึดติดกับที่ยึดใบพัด( blade grips).
Blade Grips : ที่ยึดใบพัด ติดกับดุมจุดศุนย์กลาง.
Rotor Hub : อยู่บนยอดของ Shaft (เสากระโดง), และต่อกับใบพัดทั้งหมด โดย control tubes.
Main Rotor Mast : Shaft ที่หมุน โดยต่อมาจาก transmission และ ต่อชุดใบพัดกับลำตัวของเฮลิคอปเตอร์
Pitch Change Horn : เปลี่ยนการเคลื่อนไหวของ control tube ไปเปลี่ยนมุมของใบพัด
Control tube: เป็นท่อใช้ดึงและดัน เป็นการเปลี่ยนระยะทาง และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง มุมของใบพัดโดยผ่าน pitch changing horn ที่โคนใบพัด
Swash Plate Assembly : ชุด Swash Plate Assembly ประกอบด้วยส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วนรวมผ่าน rotor mast
–     ส่วนที่หนึ่ง เป็นแผ่นกลมต่อกับคันบังคับ cyclic pitch control แผ่นกลมนี้สามารถเอียงได้ทุกตำแหน่ง แต่จะไม่หมุนตามการหมุนของใบพัดใหญ่ (main rotor)
แผ่นกลมที่ไม่หมุนนี้มักจะเรียกว่า Stationary Star และติดกับแผ่นกลมอีกแผ่นโดยมี bearing surface อยู่ตรงกลาง
–     แผ่นกลมอันที่สองนี้ เรียกว่า Rotating Star แผ่นนี้จะหมุนตาม rotor และต่อกับ pitch change horns.

Advance-Aviation2-462x346

Transmission : ระบบถ่ายทอดพลังงาน เป็นระบบทดรอบ โดยใช้ฟันเฟือง gears เป็นหลัก ทำหน้าที่ถ่ายทอดพลังงานหรือกำลังจากเครื่องยนต์ไปยัง
–     ใบพัดหลัก (main rotor)
–     ใบพัดที่หาง (tail rotor)
–     เครื่องกำเหนิดไฟฟ้า (generator)
–     อุปกรณ์อื่นๆ
เครื่องยนต์ทำงานที่ความเร็วรอบสูง แต่ความเร็วรอบของ main rotor (ใบพัดหลัก) จะทำงานที่รอบต่ำ ความเร็วรอบที่ลดลงก็ด้วย gears ทดรอบ ที่ Transmission System

Lift : แรงยกเกิดจากการสร้าง lower pressure ที่พื้นผิวด้านบนของปีกเครื่องบิน เมื่อเปรียบเทียบกับ high pressure ที่พื้นผิวด้านล่างของปีกเครื่องบิน จึงเป็นเหตุให้ปีกของเครื่องบินถูกยกขึ้น รูปล่างลักษณะพิเศษของปีก (airfoil) ที่ถูกออกแบบมาให้อากาศที่ไหลผ่านพื้นผิวด้านบน มีระยะทางที่มากกว่า ทำให้โมเลกุลของอากาศต้องเดินทางเร็วกว่าพื้นผิวด้านล่าง จึงทำให้ด้านบนเกิดเป็นบริเวณ lower pressure ที่มีแรงกดต่ำกว่า ดังนั้น จึงเกิดแรงยกขึ้น แรงยกเป็นแรงที่เกิดขึ้นตรงข้ามกับ แรงดึงดูดของโลก หรือ น้ำหนัก

แรงยกขึ้นอยู่กับ
–     รูปร่าง ลักษณะ ของ airfoil
–     มุมของปีก ที่กระทำกับลม relative wind
–     บริเวณพื้นผิว หรือพื้นที่ ที่อากาศ หรือ ลม พัดผ่าน
–     กำลังสองของความเร็วลม หรือความเร็วลม
–     ความหนาแน่นของอากาศ.

Relative Wind : เป็นทิศทางของลมที่กระทำต่อปีกเครื่องบิน หรือ airfoil หรือ ใบพัดของเฮลิคอปเตอร์
Pitch Angle : มุมของใบพัดจะเป็นมุมแหลมที่กระทำระหว่าง Chord line ของใบพัดกับแนวระนาบการหมุนของใบพัด
มุม pitch angle สามารถปรับเปลี่ยนได้ขณะบิน โดยนักบิน (เฮลิคอปเตอร์) ด้วยการใช้คันบังคับในห้องนักบิน (collective and cyclic pitch control)

ที่มา : www.thaitechnics.com

——————————————-

Advance Aviation มีบริการเฮลิคอปเตอร์ทัวร์ไว้บริการด้วยนะคะ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเข้ามาได้นะครับ ที่: http://www.facebook.com/advanceaviation

ศูนย์ปฏิบัติการกทม.: fly@advanceaviation.co.th
Call Center: 085-055-4444
ศูนย์ปฏิบัติการภูเก็ต: phuket@advanceaviation.co.th
Call Center: 080-522-5555
ศูนย์ปฏิบัติการเชียงใหม่:chiangmai@advanceaviation.co.th
Call Center: 085-055-6666

รู้หรือไม่ว่าทะเลหมอกเกิดขึ้นได้อย่างไร!!

หลายครั้งในฤดูหนาว
เราได้มีโอกาสพานักท่องเที่ยวบินชมวิวเชียงใหม่
และได้ชื่นชมทะเลหมอกบนเฮลิคอปเตอร์
ลูกค้าของเราต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า
“ประสบการณ์ครั้งนี้จะไม่มีวันลืม”

ทะเลหมอกเกิดจากกระบวนการการคายความร้อนของพื้นดิน ทำให้เกิดความชื้น ซึ่งมักจะเกิดในพื้นที่หุบเขาที่มีแม่น้ำ ลำธารหรือแอ่งน้ำขนาดใหญ่ เมื่อสะสมความชื่นมากขึ้นจะทำให้อากาศบริเวณนั้นเย็นลง อากาศที่เย็นจะเคลื่อนตัวไปจมในหุบเขา เมื่ออุณหภูมิลดลงในเวลากลางคืน ไอน้ำในอากาศจะเริ่มควบแน่นเป็นไอน้ำ จนเกิดเป็นทะเลหมอกที่สวยงามในตอนเช้า เมื่อมีแสงแดดหรือมีลมพัดแรง ก็จะทำให้ทะเลหมอกสลายตัว

kapook_world-844057
ภาพถ่ายจากเฮลิคอปเตอร์

ความสวยงามตระการตาของทะเลหมอกจึงเป็นแรงบันดาลใจให้นักท่องเที่ยวมีความพยายามที่จะเดินทางไปชมทะเลหมอก แม้ว่าระยะทางเดินทางจะไกลแค่ไหน แต่เมื่อได้เห็นวิวทะเลหมอกแล้ว บอกได้เลยว่าว่าคุ้มค่ามาก

หลายครั้งในฤดูหนาว ที่เราได้มีโอกาสพานักท่องเที่ยวบินชมวิวเชียงใหม่ และได้ชื่นชมทะเลหมอกบนเฮลิคอปเตอร์ ลูกค้าของเราต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ประสบการณ์ครั้งนี้จะไม่มีวันลืม เพราะการได้เห็นทะเลหมอกจากหลายๆ มุมที่ต่างไปจากจุดชมวิวจุดเดียว เป็นความสวยงามที่หาจากที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว

หน้าหนาวถ้าอยากสัมผัสทะเลหมอก พร้อมเปิดประสบการณ์ Helicopter Tour ที่เชียงใหม่ไปกับ Advance Aviation

– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Chiangmai@advanceaviation.co.th

หรือโทร. 085-055-6666

 

HS-JCN ฮ.น้องใหม่ป้ายแดง

ยินดีต้อนรับ ฮ. น้องใหม่ป้ายแดง HS-JCN สู่ ADVANCE AVIATION และ SKYDANCE HELICOPTER 

DSC_3303

HS-JCN ฮ.น้องใหม่ป้ายแดงของบริษัท Advance Aviation ที่เพิ่งผ่านการ Test Flight ที่สิงคโปร์มาเป็นที่เรียบร้อย ด้วยดีไซน์ที่โมเดิร์นและสมรรถนะที่เรียกว่าก้าวขึ้นไปอีกขึ้น กับฮ.รุ่น EC130 T2 (H130 T2) ที่พัฒนามาจากรุ่น EC 130 B4 (H130 B4) อย่างเห็นได้ชัดคือ เครื่องยนต์ Aeriel 2D ที่มีกำลังเครื่องสูงขึ้นถึง 20% มีประตูเปิดปิดแบบหูช้าง และ sliding door ทั้ง 2 ด้าน ระบบทำความเย็นใหม่แถมมีระบบป้องกันการสั่น เนื่องจากการหมุนของใบพัด AVCS (Active-Vibration Control System) แถมยังเปลี่ยนระบบไฟฟ้า Circuit Brakern ใหม่อีกด้วย

นั่งเครื่องส่วนตัว…ต้อง GULFSTREAM G 200

จะนั่งเครื่องบินส่วนตัวสักที…
ทำไมต้องเครื่อง GULFSTREAM G 200

123.jpg

 “เครื่องบินเจ็ท ส่วนตัว Gulfstream G200” 

Advance Aviation Jet ได้นำเข้ามาให้บริการเช่าเหมาลำเครื่องแรกของประเทศไทยในราคากว่า 300 ล้าน

Gulfstream G200 เป็นเครื่องบินขนาดกลาง
ที่ออกแบบมาเพื่อสนองตอบทุกความต้องการของท่านไม่ว่าจะเป็นความสะดวกสบายสมรรถนะ หรือความปลอดภัย นอกจากนี้ยังมีระยะทางบินที่ยาว สามารถนำท่านเดินทางเส้นทางกรุงเทพฯถึงดูไบ ได้โดยไม่ต้องหยุดพักเลยมีเดียว ในห้องโดยสารที่กว้างที่สุดเมื่อ
เทียบกับเครื่องบินในระดับเดียวกัน พร้อมความเร็วใน
การบินเท่ากับ 459 น็อต เครื่อง G200 ได้รับการออกแบบ
อย่างสวยงามประกอบไปด้วยพื้นที่นั่งเล่น ระบบให้ความบันเทิง วิทยุ โทรศัพท์ และปลั๊กไฟ มีห้องโดยสารขนาดกว้าง 2 เมตร 18 ซม. สูง 1 เมตร 91 ซม. มีที่นั่งผู้โดยสารแบบวีไอพี 10 ที่นั่ง และมีระบบทำอากาศให้บริสุทธิ์ 100% เพื่อลดความเหนื่อยล้าของผู้โดยสาร มีพิสัยการบินไกลกว่า 7 ชั่วโมงบินเหมาะสำหรับการเดินทางประชุมธุรกิจหรือการเดินทางพักผ่อนกับ
ครอบครัว

123

ข้อมูลจำเพาะของเครื่องบิน:

จำนวนผู้โดยสารที่นั่ง                                          10
จำนวนลูกเรือ                                                       2 นักบิน 1 พนักงานต้อนรับ
ความยาวของห้องโดยสาร                                   24.4 ฟุต
ความกว้างของห้องโดยสาร                                 7.2 ฟุต
ความสูงของห้องโดยสาร:                                    6.3 ฟุต
ความจุสัมภาระ                                                     2,400 ปอนด์
ความเร็วในการบิน                                                459 น็อต
ระยะทางบินสูงสุด                                                 3,400 นอติคัลไมล์

เพดานบิน                                                              45,000 ฟุต
ระยะเวลาบินสูงสุด                                                 7 ชั่วโมง

176554-pic-8

 

ICAO คืออะไร? เกี่ยวอะไรกับการบิน?

 “ICAO เป็นองค์กรกำหนดมาตราฐานต่างๆ และวิธีปฏิบัติที่ใช้ในกิจการการบินทุกประเภท อาทิ กฎข้อระเบียบ ข้อบังคับ การออกแบบอากาศยาน มาตราฐานระบบสื่อสารและวิทยุช่วยบิน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์หลักคือ ความปลอดภัยอันสูงสุดของการบิน”

ICAO-logo-360x242

ICAO หรือชื่อเต็ม The International Civil Aviation Organization แปลเป็นภาษาไทยหมายถึง “องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ” ซึ่งเป็นหน่วยงานพิเศษของสหประชาชาติ ปัจจุบันมีสมาชิก 191 ประเทศทั่วโลก สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองมอนทรีออล ประเทศแคนาดา ส่วนสำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ตั้งอยู่ที่ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ICAO เป็นองค์การที่จัดตั้งขึ้นเพื่อวางระเบียบ ข้อบังคับ สำหรับกิจกรรมการบินระหว่างประเทศระหว่างชาติให้มีความปลอดภัยสูงสุด ลดความเสี่ยงจากการก่อการร้ายหรือการดำเนินการต่างๆ ที่ผิดกฎหมาย จึงเป็นองค์กรที่ยอมรับของนานาประเทศ รวมถึงการยอมรับให้เข้ามาพัฒนาเอกสารการเดินทางให้ได้มาตรฐาน ทั้งยังสามารถใช้งานในการตรวจสอบความถูกต้องร่วมกันระหว่างหน่วยงานของประเทศต่างๆ ได้

2icao_3188
ICAO กำหนดมาตรฐานสำคัญที่มุ่งให้ประเทศสมาชิกดำเนินการเกี่ยวกับเอกสารการเดินทางของแต่ละประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2010 หนังสือเดินทางที่ประเทศสมาชิกออกให้ประชาชนของตนจะต้องเป็นหนังสือเดินทางแบบอิเล็กทรอนิกส์ “อ่านได้ด้วยเครื่องทั้งหมด” ส่วนหนังสือเดินทางชนิดที่ไม่สามารถอ่านได้ด้วยเครื่องที่ยังไม่หมดอายุ จะถูกยกเลิกการใช้งานภายในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2015 นอกจากนี้ ICAO ยังเริ่มประกาศวิสัยทัศน์ 2020 หรือ Vision 2020 ที่ตกลงร่วมกับประเทศสมาชิกในการกำหนดยุทธศาสตร์และมาตรการเพื่อให้มีการควบคุมการผ่านแดนและการบริหารจัดการข้อมูลบุคคลของผู้ถือหนังสือเดินทางที่มีความปลอดภัยและเป็นรูปแบบเดียวกัน โดยใช้ประโยชน์จากหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์

graphic2_visa_waiver_program.png ดังนั้นหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์จึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ ICAO นำมาใช้ดำเนินการเกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยในการเดินทางระหว่างประเทศในอนาคต จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่รัฐบาลไทยเริ่มออกหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ประชาชนไทยมาตั้งแต่ปี 2548

         pp

ปลอดภัยแค่ไหน? เมื่อเดินทางโดยเครื่องบิน (ตอนที่ 2)

บินวันนี้ ปลอดภัยกว่าวันวาน

Plane-Road-Sky

หลายๆครั้งที่เมื่อเปิดเข้าไปในกระทู้ไหนๆ มักจะเจอกับคำถามที่ว่
“เครื่องบินปลอดภัยไหมเนี่ย!!”
ตัวอย่างเช่นกระทู้นี้


000dfdsfeol
http://www.hflight.net/forums/topic/3482-ทุกวันนี้เครื่องบิน-ปลอดภัยส

เคยดูสารคดี การเกิดอุบัติเหตุของอากาศยาน เช่น เครื่อง โบอิ้ง737 บินอยู่ดีๆ ก็ ควงอากาศตกลงเฉยโดยที่ไม่ได้เกี่ยวสภาพอากศ หรือเกิดการจี้เครื่องบินแต่อย่างใด และเรื่องของไฟไหม้ในห้องเก็บสินค้า ก็ทำให้เครื่องตกมาแล้ว จึงอยากทราบ ทุกวันนี้ เครื่องบินที่เรานั่งอยู่ ปลอดภัยจริงหรือ (ความปลอดภัยที่ไม่เกี่ยวกับสภาพดินฟ้าอากาศแต่เป็น การผิดพลาดของการออกแบบและการทำงานของเครื่องยนต์)


แม้ว่าจากสถิติ การเดินทางด้วยเครื่องบินเป็นพาหนะที่ปลอดภัยที่สุดเมื่อเทียบกับการเดินทางด้วยพาหนะอื่นๆ ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์ รถไฟ หรือจักรยาน หรือแม้กระทั่งเรือเองก็ตาม เพราะโอกาสที่เครื่องบินพาณิชย์ตกนั้นมีเพียง 1 ใน 11 ล้านเที่ยวบินหรือ 1 ในพันล้านชั่วโมงบินของเครื่องบินลำนั้นๆ เท่านั้นแม้การเดินทางด้วยเครื่องบินจะมีความปลอดภัยสูง มากๆ แต่กลับเป็นการเดินทางที่คนส่วนใหญ่กลัวมากที่สุด

จาก การทำโพลสำรวจของ Macquarie University ประเทศออสเตรเลีย พบว่า 40 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่ผู้เดินทางโดยเรื่องบิน มีความรู้สึกวิตกกังวลเวลาขึ้นเครื่องบินโดยเฉพาะเวลาที่เครื่องกำลังจะบินขึ้น

นับตั้งแต่ปี 2014 ที่ผ่านมา มีเหตุการณ์เครื่องบินพาณิชย์ที่สร้างโดยประเทศตะวันตกประสบอุบัติเหตุตกและมีผู้เสียชีวิตเพียง 6 ครั้ง แต่สายการบินที่ประสบอุบัติเหตุเครื่องบินตก 4 ครั้ง (จาก 6 ครั้ง : อ้างอิงจาก ThairatTV สรุปข่าวด้านล่างนะครับ) ทางสายการบินไม่ได้เป็นสมาชิกสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ หรือ ไออาตา (International Air Transport Association-IATA) ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยในการเดินทางทางอากาศ ซึ่งปัจจุบันมีสายการบิน 240 สายการบินจาก 115 ประเทศเป็นสมาชิก

นอกจากนี้คนส่วนใหญ่ยังเข้าใจว่า เวลาเครื่องบินตก ผู้โดยสารบนเครื่องทั้งหมดจะเสียชีวิต! แต่จากการเก็บสถิติของ National Transportation Safety Board ซึ่งเป็นหน่วยงานสอบสวนอากาศยานอุบัติเหตุ มีสำนักงานอยู่ที่สหรัฐอเมริกา พบว่า 10 ปีที่ผ่านมาเป็นช่วงที่ปลอดภัยที่สุดของการบินพลเรือน คือ โอกาสเสียชีวิต อยู่ที่ 2 ใน 100 ล้าน หรือ 2:100 ล้าน กล่าวคือ ผู้โดยสาร 100 ล้านคน จะมีโอกาสเสียชีวิต 2 คน

โอกาสตายลดลง 10 เท่า เมื่อเทียบกับ 10 ปีก่อนหน้านั้น

ช่วงแรกที่มีเครื่องบินเจ็ท = 1962-1971/2505-2514, โอกาสตาย = 133:100 ล้านคน ไม่นับรวมการก่อการร้าย (terrorism) นะครับ

เครื่องบินโดยสารส่วนใหญ่บินสูงถึง 10,000 ฟุต จากผิวโลก แต่มีการปรับอากาศอย่างดี ทำให้การเดินทางเป็นไปได้อย่างสะดวกสบายที่สุดยิ่งกว่ายุคใดๆ

เชื่อไหมครับว่า โอกาสตายจากการเดินทางด้วยรถไปสนามบินสูงกว่าการบินในประเทศ โดยมีคนตายจากอุบัติเหตุรถยนต์มากกว่า 30,000 ราย/ปี = 8 เท่าของการขึ้นเครื่องเชียวนะครับ!!!

ประเทศที่มีสถิติเครื่องบินตกสูงที่สุด คือ รัสเซีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และโซมาเลีย

แอฟริกาเป็นทวีปที่มีสถิติการบินน้อย = 3% ของโลก แต่กลับมีเครื่องบินตกมากที่สุด คือ  14% ของการบินในประเทศทั้งหมดเชียวล่ะครับ

สาเหตุที่ทำให้การบินพลเรือนปลอดภัยขึ้น

(1). มีการเรียนรู้ข้อผิดพลาด หาวิธีแก้ไข และนำไปสู่การปฏิบัติจริงอย่างเป็นระบบ เช่น มีการสอบสวนหาสาเหตุเครื่องตก ออกแบบเครื่องบิน เครื่องยนต์ และมาตรการป้องกันอันตรายใหม่ทุกครั้ง ฯลฯ

(2). มีระบบการแลกเปลี่ยนฐานข้อมูลการบิน เช่น ถ้ามีหมอกทำให้ทัศนวิสัยตกลง ผู้ควบคุมการบินจะต้องแจ้งเตือนนักบิน ให้เวลาเตรียมลงนานขึ้น เปิดไฟสนามบินให้สว่างขึ้น ฯลฯ

(3). มีระบบการตรวจสอบจากภายนอก โดยทีมงานมืออาชีพอย่างเป็นระบบจะทำการตรวจสอบการบำรุงรักษา มาตรการรักษาความปลอดภัยของสายการบินเป็นระยะๆ ให้ค่าคะแนน ซึ่งถ้าสายการบินใดได้คะแนนดีจะเสียค่าประกันภัยน้อยลง

(4). บุคลากรที่มีคุณภาพ และมีประสบการณ์สูง เช่น ผู้ควบคุมการบิน นักบิน วิศวกร-ช่างบำรุงรักษา ฯลฯ ทำให้การบินปลอดภัยขึ้น เช่น กรณีนำเครื่องบินที่เครื่องยนต์ดับทั้ง 2 เครื่องลงในแม่น้ำฮัดสัน ปี 2009/2552

เห็นไหมล่ะครับว่ามาตรฐานการบินในปัจจุบัน พัฒนามากขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก โดยเฉพาะเครื่องบินเจ็ท Gulfstream G200 ของเรา (แอบกระซิบหน่อยว่า หนุ่มเเข้งทอง Ronaldo เองก็ซื้อเครื่องรุ่นนี้เช่นกัน แถมยังผลิตเพียง 250 ลำ ทั่วโลก!!! คราวหน้าผมจะเอาเรื่องราวเกี่ยวกับ Gulsftream G200 และรูปภาพสุด Exclusive จาก Advance Aviation มาฝากกันครับ)

สรุปข่าวย้อนรอยเครื่องบินตก ปี 2557– 8 มีนาคม 2557 เครื่องบินโดยสารโบอิ้ง 777-200 อีอาร์ เที่ยวบิน MH370 ของสายการบินมาเลเซีย แอร์ไลน์ส ออกเดินทางจากสนามบินในกรุงกัวลาลัมเปอร์ พร้อมด้วยผู้โดยสารและลูกเรือ 239 คน สูญหายไปจากจอเรดาห์อย่างไร้ร่องรอย ระหว่างบินอยู่เหนือทะเลจีนใต้ ท่ามกลางข้อสันนิษฐานว่าเครื่องบินลำนี้เปลี่ยนทิศทางการบินและประสบเหตุตกลงในมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งนับจนถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีรายงานการพบเครื่องบินลำนี้แต่อย่างใด

– 4 เดือนถัดมา สายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ ต้องประสบกับเหตุโศกนาฏกรรมทางอากาศอย่างร้ายแรงอีกครั้ง เมื่อ เครื่องบินโบอิ้ง 777 – 200 ER เที่ยวบินที่ MH17 ประสบเหตุตกในแคว้นโดเนตสก์ของยูเครนใกล้กับพรมแดนรัสซีย เมื่อวันที่ 17 กรกฏาคม หลังออกเดินทางจากกรุงอัมสเตอร์ดัมของเนเธอร์แลนด์ไปยังมาเลเซีย โดยมีข้อสัณนิษฐานว่าถูกยิงตกด้วยขีปนาวุธภาคพื้นสู่อากาศ บู๊คส่งผลทำให้ผู้โดยสาร 283 คนและลูกเรืออีก 15 คนบนเครื่องเสียชีวิตทั้งลำ

– ถัดมาอีกเพียง 6 วัน เครื่องบินโดยสารขนาดเล็กชนิด ATR 72-500 จากสายการบินทรานส์แอร์เวย์ เที่ยวบินGE 222 ซึ่งประสบเหตุตกลงใส่บ้านเรือนประชาชนหลังพยายามร่อนลงจอดฉุกเฉินบนเกาะเปงฮู ทางตะวันตกของไต้หวันเพราะสภาพอากาศย่ำแย่เนื่องจากอิทธิพลของพายุไต้ฝุ่นแมตโม เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 48 คนและบาดเจ็บอีก 15 คน

1 วันหลังเหตุเครื่องบินตกที่ไต้หวันก็ได้เกิดเหตุเครื่องบินแมคดอนเนล ดักลาส MD-83 เที่ยวบินAH 5017 ของสายการบินแอร์ แอลจีเรียพร้อมผู้โดยสาร 110 คนและลูกเรืออีก 6 คน ออกเดินทางจากกรุงวากาดูกู เมืองหลวงของประเทศบูร์กินาฟาโซ ไปยังกรุงแอลเจียร์ส ของแอลจีเรีย ได้สูญหายไปจากจอเรดาห์ภายหลังจากที่ออกเดินทางได้เพียง 50 นาที ก่อนที่จะประสบเหตุตกลงใกล้กับเมืองกอสซี ประเทศมาลี ผู้โดยสารและลูกเรือเสียชีวิตยกลำ

– 10 สิงหาคม เครื่องบินโดยสารขนาดเล็กของสายการบินเซปาฮานของอิหร่าน เที่ยวบิน SPN 5915 บรรทุกผู้โดยสาร 40 คนและลูกเรือ 8 คนประสบเหตุตกหลังทะยานขึ้นจากรันเวย์ของท่าอากาศนานาชาติเมห์ราบัดเพื่อมุ่งหน้าไปยังเมืองทาบัส โดยเครื่องบินลำนี้ตกห่างจากสนามบินเพียง 5 กิโลเมตร เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 39 คน

– และในขณะที่ใกล้จะหมดปี 2557 ก็ได้เกิดเหตุเครื่องบินโดยสารแอร์บัส เอ 320-200 ของสายการบินแอร์เอเชียที่ออกเดินทางจากเมืองสุราบายาของอินโดนีเซียไปยังสิงคโปร์ พร้อมด้วยผู้โดยสารและลูกเรือ 162 คน เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาได้ขาดการติดต่อและสูญหายไปจากจอเรดาห์หลังออกเดินทางไปได้เพียงครึ่งทาง ซึ่งนับจนถึงตอนนี้ก็ยังไม่ทราบชะตากรรมของคนบนเครื่องทั้งหมด

ข้อมูลจาก  : social.tnews.co.th, health2u.exteen.com, ThairathTV, Advanceaviation.co.th

 

ปลอดภัยแค่ไหน? เมื่อเดินทางโดยเครื่องบิน

เดินทางโดยเครื่องบินปลอดภัยที่สุดจริงหรือปล่าว?

อยู่สูงกว่าพื้นตั้งเยอะ กลัวจังเลย

เครื่องจะตกไหมเนี่ย

แล้วข่าวเครื่องบินตกที่แล้วๆมาล่ะ

จะนั่งรถก็กังวล จะนั่งเรือก็กลัว เครื่องบินเร็วก็จริง แต่ปลอดภัยไหมเนี่ย

plane-in-sky-900x497.jpg

ถ้าพูดถึงการนั่งเครื่องบินแล้ว.. บางคนอาจรู้สึกตื่นเต้น ดีใจ มีความสุขกับความรู้สึกที่ได้ลอยอยู่บนฟ้า แต่บางคนแล้ว มันไม่เป็นเช่นนั้นเลย ดั่งเช่น “ผู้เป็นโรคกลัวการบิน” ยากที่จะรู้สึกดีและมักกังวลยู่ตลอดเวลาว่าหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นกลางอากาศตอนที่อยู่สูงเหนือพื้นโลกกว่า 10,000 เมตร จะทำอย่างไร!!!

วันนี้ ผมจึงนำความจริง 5 ประการเกี่ยวกับการบินมาฝากกันครับ ^_^

  1. มาตรฐานความปลอดภัยในการผลิตเครื่องบิน

บริษัทผลิตเครื่องบินจะต้องมีคุณสมบัติตาข้อกำหนดมาตรฐานที่องค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศได้กำหนดไว้

นอกจากนี้ เครื่องบินในปัจจุบันยังถือว่ามีความทันสมัยและปลอดภัยอย่างมาก โอกาสเสี่ยงที่จะเป็นต้นเหตุให้เครื่องเกิดอุบัติเหตุทางการบินได้ 1 ใน พันล้านของชั่วโมงบินลำนั้นๆได้เลยทีเดียว!! หรือโดยเฉลี่ย 1 ใน 11 ล้านเที่ยวบินเท่านั้น!!

ที่สำคัญคือ หากเครื่องบินใดก็ตามไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศล่ะก็ เครื่องดังกล่าวก็จะไม่ได้รับการอนุมัติให้นำไปใช้งาน และการตรวจสอบขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศถือว่าเข้มข้นมากเลยทีเดียว!!!

  1. การเดินทางโดยเครื่องบินถือว่าปลอดภัยและรวดเร็วที่สุด

ถึงแม้ว่าข่าวอุบัติเหตุทางเครื่องบินจะเป็นข่าวที่เรียกความสนใจจากผู้คนมากกว่าข่าวอุบัติเหตุจากการเดินทางข่าวอื่นๆ แต่ข่าวที่เห็นบ่อยๆ มักจะเป็นข่าวอุบัติเหตุทางรถยนต์เสียมากกว่า เช่น ในรอบ 10 ปี (มกราคม 2539 – ธันวาคม 2548) มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางเครื่องบิน 5,612 ราย 376 เที่ยวบิน เฉลี่ยเป็นปีละประมาณ 560 ราย 38 เที่ยวบิน ในขณะที่่มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ถึง 5,000 รายต่อปี

จริงที่ว่าในแต่ละวัน มีผู้เดินทางโดยใช้รถยนต์มากกว่าเดินทางโดยเครื่องบิน แต่ก็เป็นเรื่องจริงอีกเช่นเดียวกันที่ว่ามีโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุระหว่างการขับรถมากกว่าการเดินทางโดยเครื่องบิน

  1. สื่อ ตัวกลางสนับสนุนให้เกิดโรคกลัวการบิน

เมื่อเกิดอุบัติเหตุทางอากาศ สื่อมวลชนมักจะนำเสนอข่าวเครื่องบินตกซ้ำไปซ้ำมา ทั้งสื่อโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ (มักจะลงพาดหัวข่าวในหน้าหนึ่งอยู่หลายวัน) ทำให้ผู้โดยสารที่กลัวเครื่องบินอยู่แล้ว เกิดอคติกับเครื่องบินมากยิ่งขึ้นไปอีก

  1. ความปลอดภัยของแต่ละสายการบินไม่เท่ากัน

แม้ว่าเครื่องบินของทุกสายการบินจะต้องผ่านมาตรฐานความปลอดภัยขององค์การบินพลเรือนระหว่างประเทศ แต่การควบคุมหรือดูแลอุปกรณ์ภายในเครื่องหลังจากเริ่มใช้งานนั้น เป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่ควบคุมการบินในประเทศนั้นๆ โดยประเทศที่เรื่องบินลงจอด มีสิทธิ์เพียงอนุญาตให้ลงจอดหรือไม่เท่านั้น แต่สิทธิ์การดูแลตกอยู่กับประเทศที่เป็นเจ้าของเครื่องบินลำนั้นๆ นอกจากนี้ ผู้ผลิตเครื่องบินของบริษัทนั้นๆ จะเข้ามาดูแลตรวจสอบอยู่เป็นประจำ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการบินให้สูงขึ้น

เครื่องบินทุกลำของ Advance Aviation Jet ก็เช่นกัน ทั้งเฮลิคอปเตอร์และเจ็ทต่างก็ได้รับการดูแล ตรวจเช็คสภาพอย่างดี ทั้งก่อนออกบิน และหลังจากบินเสร็จ ด้วยอุปกรณ์ที่ครบครัน และใหม่อยู่เสมอ บุคลากรที่มากประสบการณ์และผ่านการอบรมมาอย่างดีทั้งในและต่างประเทศ เครื่องบินเจ็ทและเฮลิคอปเตอร์ของเราจึงปลอดภัย มั่นใจได้ ดั่งสโลแกนของเรา  “where sky and safety meet!!!”

  1. มาตรฐานความปลอดภัยของสายการบินในแต่ละประเทศขึ้นอยู่กับนโยบองรัฐบาลในประเทศนั้นๆแต่ก็ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน จากองค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ

เห็นไหมล่ะครับว่า จริงๆแล้วการเดินทางโดยเครื่องบิน นอกจากจะประหยัดเวลาที่สุดแล้ว นังเป็นการเดินทางที่ปลอดภัยที่สุดด้วย  แม้ว่าไม่มียานพาหนะใดที่ปลอดภัย 100% แต่ความถี่ในการเกิดอุบัติเหตุทางเครื่องบินนั้น ถือว่าน้อยถึงน้อยที่สุด เมื่อเทียบกับความถี่ในการเดินทางแบบอื่นๆนั่นเองนะครับ Entry นี้ผมขอลาไปก่อน แล้วพบกันใหม่กับ Entry หน้านะครับ สวัสดีครับ

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.1001crash.comhttp://www.advanceaviation.co.th